วัตถุประสงค์
-เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรหอยชักตีน ให้เป็นไปตามหลักการในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสูงสุด
-เพื่อให้แหล่งทรัพยากรหอยชักตีนในธรรมชาติได้รับการควบคุมดูแลไม่ให้เสื่อมโทรม และสามารถสร้างผลผลิตได้สูงสุดเพียงพอต่อการบริโภคและยั่งยืน
-เพื่อสร้างค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีในการไม่เก็บหอยชักตีนขนาดเล็กที่ยังไม่เจริญวัย โดยเลือกเก็บขนาดที่เหมาะสมเพื่อจะได้มีโอกาสวางไข่และมีหอยแพร่พันธุ์ในธรรมชาติต่อไป
เป้าหมาย
ไม่มีการเก็บหอยขนาดเล็กขึ้นมาใช้ประโยชน์ มีแต่การเก็บเกี่ยวหอยชักตีนขนาดที่เหมาะสมแก่การบริโภคเท่านั้น และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
กิจกรรมของโครงการ
1 การจัดสัมมนาเพื่อหาแนวทางและข้อสรุป การบริหารจัดการ “หอยชักตีน” ทางฝั่งทะเลอันดามัน
โดยการจัดสัมมนาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจาก 6 จังหวัด ทางฝั่งทะเลอันดามัน ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อหาข้อสรุปและจัดวางแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากร”หอยชักตีน”ต่อไป กำหนดจัดการสัมมนาขึ้น 1 วัน ที่ โรงแรมกระบี่รีสอร์ต,อ่าวนาง ,จังหวัด กระบี่ ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 นี้ โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 60 คน ประกอบด้วย
-ผู้นำชุมชนหรือตัวแทนชุมชนที่มีอาชีพเก็บหอยชักตีนจังหวัดละไม่เกิน 5 คน (คัดเลือกโดยสำนักงานประมงจังหวัด)
-ประมงจังหวัดทางฝั่งทะเลอันดามัน 6 จังหวัดรวม 6 คน
-ผู้อำนวยการศูนย์ฯเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและนักวิชาการที่ทำวิจัยเรื่องหอยชักตีน 10 คน
-เจ้าหน้าที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ศูนย์ฯ 5,ศูนย์ฯ 6 และ สถาบันวิจัยฯ) 3 คน
-เจ้าหน้าที่จาก องค์กรพัฒนาเอกชน 3 คน
-เจ้าหน้าที่ อปท , มูลนิธิ และอื่นๆ
2 กิจกรรมการบริหารจัดการ “หอยชักตีน”
เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการสัมมนา โดยจะนำผลสรุปและข้อเสนอแนะจากการสัมมนามาแปลงเป็นยุทธศาสตร์และแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากร”หอยชักตีนต่อไป เช่นการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับใช้ในการเผยแพร่ความรู้และหลักการบริหารจัดการให้ประขาชาทั่วไปและชุมชนต่างๆได้รับทราบ เช่น โปสเตอร์ สติ๊กเกอร์ แผ่นพับ ฯลฯ การจัดกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่เป้าหมาย เช่น ชุมชนที่มีทรัพยากรหอยชักตีน ตลาดสด ตลาดนัด ผู้รับซื้อ ภัตตาคารและ ร้านอาหาร เป็นต้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจและมีจิตสำนึกที่ดี ที่จะมาช่วยกันบริหารจัดการโดยการให้ความร่วมมือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ตลอดจนช่วยกันเฝ้าระวังไม่ให้มีผู้ที่ปฏิบัติผิดไปจากแนวทางที่ได้วางไว้ อันจะทำให้เกิดผลเสียหายต่อแหล่งทรัพยากรหอยชักตีนในธรรมชาติ
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ : 180 วัน นับตั้งแต่วันที่จัดการสัมมนา
งบประมาณโครงการ
งบประมาณในการดำเนินโครงการนี้ ได้รับการสนับสนุน จาก คุณชวน ภูเก้าล้วน ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายการพัฒนาจังหวัดกระบี่ ดังนี้
1 -การจัดสัมมนาเพื่อหาแนวทางและข้อสรุป การบริหารจัดการ
“หอยชักตีน” ทางฝั่งทะเลอันดามัน 138,500 บาท
2 -กิจกรรมการบริหารจัดการ “หอยชักตีน” 250,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ (รวมทั้งสองกิจกรรม) 388,500 บาท
